Search here...

คลังความรู้

cnit > คลังความรู้

สาระไอทีน่ารู้

ใช้ไอทีอย่างไรให้ปลอดภัย !

1.ใช้รหัสผ่านที่แข็งแรง

ควรใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อน และยากต่อการเดา โดยประกอบด้วยตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรเล็ก ตัวเลข และ สัญลักษณ์ เช่น S7trong#Passw0rd

หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ กับเว็บไซต์อื่นๆ หากเว็บไซต์ใดถูกแฮก รหัสผ่านของคุณจะไม่ถูกนำไปใช้เข้าถึงบัญชีอีเมลของคุณ
เปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ และ หากเป็นไปได้ควรตั้งรหัสผ่านใหม่ทุกๆ 3-6 เดือน

2.เปิดใช้การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน 2FA

การเปิดใช้งาน 2FA เพิ่มชั้นการป้องกันให้กับบัญชีอีเมล เมื่อเข้าสู่ระบบนอกจากกรอกรหัสผ่านแล้ว ยังต้องใช้ OTP ที่ส่งมาทาง SMS หรือผ่านแอป เช่น Google Authenticator เพื่อยืนยันตัวตน

3.อย่าคลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

อีเมลฟิชชิง มักมาในรูปแบบของอีเมลที่ดูเหมือนมาจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ แต่จริงๆ แล้วมีเจตนาหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว

หากอีเมลดูน่าสงสัย อย่าคลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบ ให้ตรวจสอบผู้ส่งก่อน หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัทโดยตรงผ่านเบราว์เซอร์

4.หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัวทางอีเมล

อย่าส่ง ข้อมูลที่สำคัญหรือเป็นความลับ เช่น รหัสผ่าน เลขบัตรเครดิต หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ทางอีเมล หากต้องส่งข้อมูลสำคัญ ให้ใช้วิธีการเข้ารหัส

5.ตรวจสอบที่อยู่อีเมลผู้ส่งอย่างรอบคอบ

แม้อีเมลจะมีลักษณะดูเป็นทางการ แต่อาจถูกปลอมแปลงได้ ตรวจสอบที่อยู่อีเมลผู้ส่งอย่างละเอียด เช่น ดูว่ามาจากโดเมนที่ถูกต้องหรือไม่ เช่น example@company.com แทนที่จะเป็น example@company-xz.com

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง loT

ประโยชน์ของ IoT (Internet of Things)

1.เพิ่มประสิทธิภาพ

ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการใช้ทรัพยากร เช่น พลังงานหรือเวลา

2.ความสะดวกสบาย

ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและติดตามสถานะของอุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่

3.การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

ระบบสามารถแจ้งเตือนเกี่ยวกับการบำรุงรักษาหรือปัญหาของอุปกรณ์ได้ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น

4.การจัดการข้อมูล

ข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT สามารถนำมาใช้ในการวิเคาะห์เพื่อตัดสินใจในการจัดการหรือปรับปรุงกระบวนการต่างๆได้

1.บ้านอัจฉริยะ (Smart Home)

อุปกรณ์ต่างๆในบ้าน เช่น หลอดไฟ กล้องวงจรปิด เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนได้ เช่น การเปิด-ปิดไฟ จากระยะไกล หรือการตั้งเวลาให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานตามที่เรากำหนด

2.การขนส่งอัจฉริยะ (Smart Transportation)

รถยนต์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับสภาพถนน การจราจร และใช้ระบบนำทางที่อัพเดตแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT อื่นๆ เพื่อรับการบำรุงรักษาอัตโนมัติ

3.การดูแลสุขภาพ (IoT in Healthcare)

อุปกรณ์ตรวจสุขภาพ เช่น สมาร์ทวอทช์ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพ เช่น การเต้นของหัวใจ การนอนหลับ และระดับออกซิเจนในเลือด และสามารถส่งข้อมูลไปยังแพทย์หรือโรงบาลเพื่อติดตามสุขภาพของผู้ป่วยระยะยาว

4.การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)

อุปกรณ์ IoT ในภาคการเกษตรสามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ความชื้นในดิน และระดับน้ำในแปลงเพาะปลูก ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการปลูกพืชหรือการรดน้ำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

5.    อุตสาหกรรมและโรงงานอัจฉริยะ (Smart Industry)

                     
 IoT สามารถช่วยในการตรวจสอบและควบคุมเครื่องจักรในโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยการเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องจักร เช่น อุณหภูมิ ความเร็ว หรือการสึกหรอของชิ้นส่วน